เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย" รวมความว่า กล่าวทิฏฐิอื่น
ทุกอย่างนอกจาก ทิฏฐินั้นว่าเลว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการ
วิวาทไปได้ ได้แก่ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ
ต้นเหตุนั้น
คำว่า การวิวาท ได้แก่ การทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การ
แก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาทเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ไม่ล่วงพ้นไปได้ ได้แก่ ไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวพ้น ไม่ล่วงพ้น รวมความว่า
เพราะฉะนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
[32] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น
เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว

ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ
คำว่า (อานิสงส์)ใดในตน ในคำว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้ ได้แก่ อานิสงส์ใดในตน
ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ตน เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ 2 อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ
(1) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (2) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาตินี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :125 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น คือ สาวกย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ทำความยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารซึ่งมีศาสดานั้นเป็นต้นเหตุ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่ง
ทิฏฐิที่มีในชาตินี้
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวังผลต่อไปว่า ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ
เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพระพรหม
หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ
หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป สัตวทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์
หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป
หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ 2 อย่างแห่งทิฏฐิของตน คือ เห็นอานิสงส์ 2 อย่าง
เพราะความหมดจดแห่งรูปที่เห็น เห็นอานิสงส์ 2 อย่าง เพราะความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน เห็นอานิสงส์ 2 อย่าง เพราะความหมดจดแห่งศีล เห็นอานิสงส์
2 อย่าง เพราะความหมดจดแห่งวัตร เห็นอานิสงส์ 2 อย่าง เพราะความหมดจด
แห่งอารมณ์ที่รับรู้ คือ (1) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (2) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์เพราะความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ในชาตินี้ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น ... นี้ชื่อว่าอานิสงส์เพราะ
ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ ในชาตินี้
อานิสงส์เพราะความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ในชาติหน้า เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค ... นี้ชื่อว่าอานิสงส์เพราะความหมดจดแห่ง
อารมณ์ที่รับรู้ ในชาติหน้า
เจ้าลัทธิเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูอานิสงส์เพราะความ
หมดจดด้วยอารมณ์ที่รู้แล้ว 2 อย่าง เหล่านี้ รวมความว่า มองเห็นอานิสงส์ใดในตน
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
คำว่า นั้น ในคำว่า เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ทิฏฐินั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :126 }